วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


13 February 2013

Learning 14.
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้(LD)
-->การดูแลให้ความช่วยเหลือ
*สร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้เกิดกับเด็ก
*มองหาจุดดี จุดแข็งของเด็กและให้คำชมอยู่เสมอ
*ให้การเสริมแรงทางบวก+
*รู้ลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
*วางแผนการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
*สังเกตติดตามความสามารถและการมีส่วนร่วมในชั่นเรียน
*IEP = จดตามสิ่งที่เราเห็นแล้วหาวิธีดูแลเด็กคนนั้น

-->การรักษาด้วยยา
*Ritalin = ใช้ในประเทศไทยเป็นตัวแรก
*Dexedrine
*Cylert

-->หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
*สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ(สศศ)
*โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
*โรงเรียนเฉพาะความพิการ
*สถาบันราชานุกูล

-->ดูวีดีทัศน์ประชาสัมพันธ์ของศูนย์การศึกษาพิเศษEI 
     เรื่อง : เรียนอย่างไรในศูนย์การศึกษาพิเศษ
     มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

-->สะท้อนผลการเรียน
       การเรียนในวันนี้อาจารย์ได้อธิบายความรู้เกี่ยวกับเด็กเรียนช้าให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และมีการเปิดVDO ของศูนย์การศึกษาพิเศษให้ดูอีกด้วย VDO นี้ทำให้รู้ได้ว่าเด็กแต่ละคนจะต้องได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างไร ทักษะต่างๆของเด็กที่ควรส่งเสริมให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น

6 February 2013

Learnning 13.



30 January 2013

Learnning 12.
ดาวน์ซินโดรม
-รักษาตามอาการ

-แก้ไขความผิดปกติร่วมด้วย

-ให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
-เน้นการดูแลแบบองค์รวม(Holistic Approach)

1.ด้านสุขภาพอนามัย
  : บิดามารดา พาบุตรไปพบแพทย์ ตั้งแต่แรกเริ่ม ติดตามอาการเป็นระยะๆ

2.การส่งเสริมพัฒนาการ
  : เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม

3.การดำรงชีวิตประจำวัน
  : ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองมากที่สุด

4.การฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก
  : -การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
    -การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)
    -การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะกาดำรงชีวิตประจำวัน
    -การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ

*การเลี้ยงดูในช่วง3เดือนแรก = การนอน..นอนตะแคง  ขาไขว้..การอาบน้ำ

การปฏิบัติของบิดามารดา
-ยอมรับความจริง
-เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
-ให้ความรักความอบอุ่น
-ตรวจภายใน หามะเร็งปากมดลูก
-คุมกำเนิด ทำหมัน
-การสอนเพศศึกษา
-ตรวจโรคหัวใจ

การส่งเสริมพัฒนาการ
-พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่นคณิตศาสตร์ ภาษา
-สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
-สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
-ลดปัญหาพฤติกรรม
-คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถแก้ปัญหาและทำงานดีขึ้น

ออทิสติก
--->ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว
-ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลและช่วยเหลือเด็กออทิสติก

--->ส่งเสริมความสามารถของเด็ก
-การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
-ทำกิจกรรมที่หลากหลาย

--->การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
-เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-การให้แรงเสริม

--->การฝึกพูด
-โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า
-ถ้าเด็กพูดได้เร็ว โอกาสที่เด็กจะมีพัฒนาการด้านภาษาใกล้เคียงเหมือนกับเด็กปกติจะมีเพิ่มมากขึ้น
-ลดภาษาที่ไม่เหมาะสม
-ช่วยลดพฤติกรรมที่ก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อความหมายที่ต้องการได้
-การสื่อความหมายทดแทน(AAC)
   
การสื่อความหมายทดแทน (AAC)

--->การส่งเสริมพัฒนาการ
-ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
-เน้นในเรื่องการมองหน้า การสบตา การมีสมาธิ การฟัง การทำตามคำสั่ง
-ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม

--->การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
-แผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล
-โรงเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

--->การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-ทักษะในชีวิตประจำวัน และการฝึกทักษะทางสังคม
-ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด

--->การรักษาด้วยยา
-Metheylphenidate(Ritalin)
    ช่วยลดอาการไม่นิ่ง/ซน หุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ
-Risperidone /Haloperidol 
    ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันแล่น พฤติกรรมซ้ำๆ ก้าวร้าวรุนแรง
-ยาในกลุ่ม Anticonvulsant (ยากันชัก) 
     ใช้ได้ผลกับรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง

--->การบำบัดทางเลือก
-(AAC) การสื่อความหมายทดแทน
-(Art Therapy)ศิลปกรรมบำบัด
-(Music Therapy)ดนตรีบำบัด
-(Acupuncture)การฝังเข็ม
-(Animal Therapy)การบำบัดด้วยสัตว์=จิตใจอ่อนโยนขึ้น

--->พ่อแม่
-"ลูกต้องพัฒนาได้"
-"เรารักลูกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร"
-"ถ้าเราไม่รักแล้วใครจะรัก"
-หยุดไม่ได้=ไม่หยุดดูแล ส่งเสริม ให้ความใส่ใจ
-ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้แข็งแรง
-ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
-ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

ดูวีดีโอ เรื่อง การบำบัดเด็กสมาธิสั้น
สรุปได้ดังนี้


สะท้อนผลการเรียนรู้
       วันนี้ทำให้เข้าใจเรื่องเด็กดาวน์ซินโดรมและเด็กออทิสติกมากยิ่งขึ้น รู้วิธีการส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนา ฟื้นฟูให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น และการบำบัดเพื่อให้เด็กมีประสิทธิภาพอย่างไร การสอนการอบรมเลี้ยงดูเด็กทั้ง 2 ประเภทนี้ให้สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

23 January 2013

Learning 11.
**วันนี้มีการสอบ วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
**การรายงานเรื่องออทิสติก
โรคออทิสติกคืออะไร
โรคออทิสติกอยู่ในกลุ่ม พีดีดี (Pervasive Developmental Disorders; PDDs) หรือ ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน ซึ่งแสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ทำให้พัฒนาการทางด้านทางสังคมและภาษาบกพร่อง ไม่เป็นไปตามปกติ มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ผิดไปจากปกติความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน หรือ พีดีดี หรือ ออทิสติก สเป็กตรัม (Autistic Spectrum Disorder) แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ

1. ออทิสติก (Autistic Disorder)
2. เร็ทท์ (Rett’s Disorder)
3. ซีดีดี (Childhood Disintegrative Disorder)
4. แอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Disorder)
5. พีดีดี เอ็นโอเอส (Pervasive Developmental Disorder Not Otherwise Specified; PDD-NOS)
           นอกจากนี้ ยังมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น ออทิสติก (Autistic Disorder) และ ออทิสซึม (Autism) ในปี พ.ศ. 2556 จะใช้ชื่อทางการในระดับสากลเหมือนกันทั่วโลก คือ Autism Spectrum Disorder ส่วนชื่อเรียกในภาษาไทย คือ ออทิสติก
          โรคนี้เป็นกลุ่มของโรคที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของสมอง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใด ที่ทำให้เกิดความบกพร่องของพัฒนาการด้านภาษาและสังคม โดยความรุนแรงของแต่ละโรคในกลุ่มแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางภาษา ไอคิว (Intelligence Quotient) และความผิดปกติอื่นๆที่พบร่วมด้วย
           จากการสำรวจพบว่าเด็กเป็นออทิสติกมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก และพบในเพศชายมากกว่า เพศหญิง ในผลสำรวจเด็กที่ป่วยพบว่า กลุ่มเสี่ยง จะอยู่กลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอด หรือหลังคลอด อย่างเช่น สมองของลูกทำงานผิดปกติเนื่องจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ หรือได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว หลังคลอดเป็นต้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กกลุ่มเสี่ยงจะเป็นเด็กพิเศษทุกคน และเด็กที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็อาจเป็นออกทิสติกได้เช่นกัน


ข้อสังเกตและอาการบ่งชี้
ออทิสติกไม่ได้เกิดจากความผิดปกติจากการเลี้ยงดู แต่เกิดจากความผิดปกติในสมองของเด็กเอง เด็กมีพฤติกรรม ความสนใจและการกระทำซ้ำๆ และจำกัด ซึ่งพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรสังเกตเด็กใน 2 ระยะคือ
เด็กเล็กวัยแบเบาะ
เด็กไม่สบตาพ่อแม่หรือคนที่อุ้ม ร้องไห้มาก งอแงแต่เล็ก ไม่ยิ้ม ไม่เล่นกับเสียง ขาดความสนใจร่วมกับผู้อื่น หรืออื่นๆ
เด็กเล็ก อายุ 1 ปีครึ่ง – 2 ปี
แสดงอาการก่อนอายุ 3 ปี มักพบในช่วง 2 ขวบปีแรก หรือเด็กในวัยที่ควรจะพูดได้แล้ว แต่กลับไม่พูดหรือพูดด้วยภาษาของตัวเองแบบที่ไม่มีใครเข้าใจ เป็นเด็กที่มีพฤติกรรม อยู่ในโลกของตัวเอง เล่นคนเดียว เรียกไม่ฟัง ทำอะไรซ้ำๆ ไม่สบตา ชอบอะไรที่เคลื่อนไหว เช่น ชอบดูน้ำไหล แต่ถ้าไม่มีอะไรเคลื่อนไหวก็จะเคลื่อนไหวตัวเอง เช่น นั่งโยกตัวไปมา เป็นต้น
ธรรมชาติของโรค
        • อาการจะครบเกณฑ์การวินิจฉัย ในช่วงอายุ 3 ปี (Pre – school age)
        • ในวัยเรียนจะมีพัฒนาการด้านภาษาและสังคมดีขึ้น แต่จะพบปัญหาพฤติกรรมและการกระตุ้นตัวเอง หรือมีพฤติกรรมซ้ำๆ เช่น เล่นเสียง เล่นมือ รวมถึงพฤติกรรมทำร้ายตัวเองด้วย
        • ช่วงวัยรุ่น จะเป็นช่วงที่มีปัญหามากที่สุด เช่น ชัก อยู่ไม่นิ่งหรือกระสับกระส่าย เฉื่อยชา พฤติกรรมก้าวร้าว ปัญหาพฤติกรรมทางเพศ
        • ช่วงวัยรุ่นในรายที่เกิดการสูญเสียทักษะต่างๆที่เคยทำได้ เช่น ทักษะทางสังคม การสื่อสาร และพัฒนาการด้านอื่นๆ ซึ่งพบได้ประมาณ 10% ซึ่งพัฒนาการที่สูญ เสียไปมักจะไม่กลับคืนมาเหมือนปกติ
อาการของเด็กในกลุ่มโรคออทิสติก
เมื่อพบว่าเด็กมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ เพราะเด็กเหล่านี้ มีปัญหาสำคัญ 3 ด้าน คือ
1. พัฒนาการทางด้านสังคม
         มีความบกพร่องในด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social disturbance) ซึ่งถือเป็นความบกพร่องที่รุนแรงที่สุดของกลุ่มโรคออทิสติก ซึ่งเด็กอยู่ในภาวะที่มีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าร่วมกับความบกพร่องด้านสังคม โดยมีพฤติกรรม ความสนใจ หรือทำกิจกรรมที่ซ้ำๆ 
2. พัฒนาการทางด้านภาษา
         มีความผิดปกติด้านภาษาและการสื่อสารเด็กกลุ่มโรคนี้มีความบกพร่องของระดับเชาวน์ปัญญา โดยความสามารถด้านภาษาจะบกพร่องมากกว่าความสามารถด้านการกระทำหรือการเคลื่อนไหว
        • ปฏิเสธหรือตอบรับด้วยการพยักหน้าหรือส่ายหน้าไม่เป็นส่งเสียงไม่เป็นภาษา เล่นซ้ำๆ เล่นสมมติไม่เป็น หรือเล่นตามจินตนาการไม่ได้ ไม่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
        • ม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารกับบุคคลอื่น 
3. พัฒนาการทางด้านพฤติกรรม
        •           ไม่แสดงท่าทางเลียนแบบ สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ เช่น เล่นแต่ล้อรถ ใบพัด พัดลม เครื่องซักผ้า ติดวัตถุบางประเภท เอาของมาเรียงเป็นแถว ชอบของหมุนๆมีท่าทางหรือการเคลื่อนไหวซ้ำๆ 
การวินิจฉัยทางการแพทย์
         เมื่อพ่อแม่และคนในครอบครัวพบว่า เด็กมีปัญหาพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า ไม่สามารถใช้ภาษาพูดเพื่อการสื่อสารได้ จึงนำเด็กไปพบแพทย์
         แพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ และต้องอาศัยเวลาในการติดตามโรคพอสมควร เพื่อดูว่าเด็กมีลักษณะอาการของออทิสติกหรือไม่ และมากน้อยแค่ไหน เพราะโรคออทิสติกเป็นปัญหาทางพฤติกรรม จึงต้องสังเกตพฤติกรรมของเด็กระยะหนึ่งและพิจารณาจากสภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ว่าเป็นอย่างไร เพื่อดูว่าลักษณะที่เป็นนั้น เกิดจากสภาพแวดล้อมหรือจากตัวเด็ก
         ตัวอย่างเช่น เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่พ่อแม่หรือครอบครัวไม่กระตุ้นให้เด็กได้สื่อสาร ให้เด็กอยู่กับโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียว เป็นต้น แต่หากเด็กมีอาการออทิสติกที่เกิดขึ้นจากตัวเองและอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ จะยิ่งทำให้รุนแรงขึ้น
ความผิดปกติของระบบสมองและระบบประสาท
       สารสื่อประสาท (Neurotransmitter) คือ สารเคมีที่ทำหน้าที่สื่อสารเพื่อให้การทำงานของระบบประสาทเป็นไปอย่างปกติ ซึ่งผู้ป่วยในกลุ่มโรคออทิสติกจะมีความผิดปกติของสารนี้ในสมองและยังพบว่าในผู้ป่วยกลุ่มโรคออทิสติก 10 - 83% มีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าในสมองและมีโอกาสเกิดโรคลมชักมากกว่าคนทั่วไปในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น ในเด็กออทิสติกที่มีระดับไอคิว (IQ) ต่ำ จะมีโอกาสเกิดอาการชักได้มากขึ้นด้วย
         นอกจากนี้ ความผิดปกติของลักษณะทางกายวิภาคของสมองและการทำงานของสมองหลายตำแหน่งส่งผลให้เกิดความบกพร่องหลายด้าน โดยความผิดปกติของสมองและการทำงานของสมองที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ทำให้ความบกพร่องและความรุนแรงแตกต่างกันไปด้วย
         เด็กกลุ่มนี้จะมีขนาดสมองใหญ่กว่าเด็กทั่วไป 2 - 10% ช่วงขวบปีแรกสมองมีขนาดปกติจนอายุ 2 - 4 ปี สมองจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของวงจรประสาทที่มีขนาดสั้น แต่วงจรประสาทที่มีขนาดยาวลดลง ทำให้เด็กในกลุ่มโรคออทิสติกมีความสนใจเฉพาะรายละเอียดของสิ่งต่างๆ และมีความบกพร่องเรื่องความคิดรวบยอด ซึ่งผู้ป่วยออทิสติกที่มีความบกพร่องทางสังคมน้อย จะถือว่ามีการพยากรณ์โรคที่ดี
ปัจจัยทางพันธุกรรม
       พบว่าพี่น้องของเด็กกลุ่มโรคออทิสติก มีโอกาสเป็นโรคในกลุ่มนี้ มากกว่าคนทั่วไปถึงประมาณ 22 เท่า และมีโอกาสพบความผิดปกติของพัฒนาการด้านภาษา และพัฒนาการด้านอื่นๆ รวมถึงการเรียนรู้ มากกว่าคนทั่วไปด้วย
ความผิดปกติหรืออาการที่พบร่วมกับกลุ่มโรคออทิสติก
        •          ปัญญาอ่อน เด็กกลุ่มโรคออทิสติก 70% มีภาวะปัญญาอ่อนร่วมด้วย ยกเว้น เด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์จะมีระดับเชาวน์ปัญญาปกติ
        • ชัก เด็กในกลุ่มโรคออทิสติก มีโอกาสชักสูงกว่าประชากรทั่วไป ซึ่งการชักนั้นสัมพันธ์กับไอคิวที่ต่ำ พบว่า 25%ของเด็กกลุ่มที่มีไอคิวต่ำจะพบอาการชัก แต่ในกลุ่มที่มีไอคิวปกติพบการชักเพียง 5% และส่วนใหญ่อาการชักมัก เริ่มในวัยรุ่น มีโอกาสชักมากที่สุดช่วงอายุ 10 -14 ปี
        •         พฤติกรรมซน อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น ขาดสมาธิ พบบ่อย ส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านการเรียน และการทำกิจกรรมอื่นๆ
        • พฤติกรรมก้าวร้าวและพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง เป็นอาการที่พบบ่ิอยและมีสาเหตุจากการไม่สามารถ                สื่อสารความต้องการได้ และกิจวัตรประจำวันที่ปฏิบัติเป็นประจำไม่สามารถทำได้ตามปกติ พบปัญหานี้บ่อยมากขึ้นในช่วงวัยรุ่น ส่วนพฤติกรรมทำร้ายตัวเองพบบ่อยในเด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีไอคิวต่ำ
        • ปัญหาการนอน พบได้บ่อยในเด็กกลุ่มโรคออทิสติกโดยเฉพาะปัญหานอนยาก นอนน้อย และนอนไม่เป็นเวลา
        •           ปัญหาการกิน เด็กจะกินยาก เลือกกิน กินอาหารเพียงบางชนิด หรือกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร
        • มีการเคลื่อนไหว และการทรงตัวผิดปกติ ระบบการทรงตัวจะทำให้เคลื่อนไหวร่างกายและปรับร่างกายได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเครื่องมือเกี่ยวกับการทรงตัวของร่างกาย จะอยู่ที่ตัวรับในหูชั้นใน เชื่อมต่อกับกลุ่มเซลประสาทที่อยู่ในสมองส่วนกลาง สมองจะประมวลข้อมูลแล้วเชื่อมต่อกับสมองส่วนที่เหลือทั้งหมด ทำให้รับรู้ว่าร่างกายกำลังอยู่ในภาวะใด ท่าทางใด ในสิ่งแวดล้อมแบบใด แล้วส่งต่อข้อมูลไปยังกลุ่มประสาทที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว ซึ่งบุคคลที่มีความผิดปกติในระบบนี้จะไม่รู้ตนเอง เพราะถ้าระบบรับรู้การทรงตัวมีน้อยไป พฤติกรรมจะออกมาในรูปแบบ หันไปหันมา กระโดดโลดเต้นอย่างรุนแรง หมุนตัว หรือกระแทกตัวเองกับสิ่งต่างๆ ในบางคนสามารถหมุนตัวเองได้นานโดยไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
        • มีปัญหาทางอารมณ์ มีความผิดปกติหรืออาการที่พบร่วมกับกลุ่มโรคออทิสติกได้ คือปัญญาอ่อน เด็กกลุ่มโรคออทิสติก 70% มีภาวะปัญญาอ่อนร่วมด้วยยกเว้น ในโรคแอสเพอร์เกอร์ เด็กจะมีระดับเชาวน์ปัญญาปกติ
        การตรวจเพิ่มเติมกับเด็กในกลุ่มโรคออทิสติก
        • ตรวจการได้ยิน เมื่อเด็กมีปัญหาพัฒนาการล่าช้าด้านภาษา
        • ตรวจวัดระดับเชาวน์ปัญญา หรือระดับพัฒนาการในด้านอื่นๆ เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
        • ตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมอง ในกรณีสงสัยอาการชัก หากเด็กมีอาการเหม่อจ้องมองโดยไร้จุดหมายร่วมกับมีอาการไม่รู้สึกตัว มีประวัติพัฒนาการถดถอย หรือตรวจพบความผิดปกติของระบบประสาท
        • ตรวจโครโมโซม ในกรณีที่พบลักษณะความผิดปกติที่จำเพาะต่อโรคทางพันธุกรรม หรือมีภาวะปัญญาอ่อนหรือมีพัฒนาการบกพร่องของคนในครอบครัว
kids_momypedia

การรักษาโรคออทิสติก
         กลุ่มโรคออทิสติก ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นเป้าหมายของการรักษา คือ การส่งเสริมพัฒนาการและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลง และให้เด็กมีภาวะที่ใกล้เคียงกับเด็กปกติมากที่สุด
หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย และต่อเนื่องทำให้ผลการรักษาดี มีวิธีการรักษาที่เหมาะสม คือ บูรณาการ การรักษาด้านต่างๆเข้าด้วยกันตามความจำเป็นของเด็กแต่ละคนพ่อแม่และคนในครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการดูแลเด็กมาก แพทย์จะให้พ่อแม่ของเด็กเป็นผู้ร่วมรักษาด้วย และแนะนำให้พ่อแม่กลับไปสอนหรือปรับพฤติกรรมเด็กที่บ้านได้ด้วยตัวเอง และนำเด็กกลับมาประเมินผล รวมทั้งรับคำแนะนำใหม่กลับไปปฏิบัติ
         ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาอาการออทิสติกโดยตรง แต่เด็กบางคนแพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น
การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
    พฤติกรรมบำบัด
        •          เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเด็กได้รับพฤติกรรมบำบัด แล้วเด็กชอบก็จะทำให้พฤติกรรมเพิ่มขึ้นถ้าผลที่เกิดขึ้นหลังพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ไม่ชอบก็จะทำให้พฤติกรรมลดลง
     เทคนิคการปรับพฤติกรรม
        •           การให้รางวัล และชมเชยเมื่อมีพฤติกรรมที่เหมาะสมเพิกเฉย เมื่อเด็กงอแง การเบี่ยงเบนความสนใจเด็กไปยังสิ่งอื่นที่เด็กชอบในขณะที่เด็กงอแง
     การฝึกพูด
           เป็นการรักษาที่สำคัญโดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า การฝึกการสื่อสารได้เร็วจะทำให้เด็กเรียนรู้จากการใช้ภาษาได้เร็ว และช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้
     การรักษาด้วยยา
            เป็นการรักษาด้วยยาที่ใช้ในการรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโรคออทิสติก เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและช่วยให้ฝึกเด็กได้ง่ายขึ้น
      การช่วยเหลือทางจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว
           ในการรักษา พ่อแม่หรือคนใกล้ชิดในครอบครัว จะมีบทบาทสำคัญที่สุด ที่จะช่วยเหลือเด็กเพื่อปรับพฤติกรรมและรับการรักษา พ่อแม่และคนในครอบครัว จะเป็นผู้ที่มีความอดทนและมีความเสียสละมากที่สุด ในการช่วยเพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ให้กับเด็กในกลุ่มโรคนี้
            หากพ่อแม่หรือคนใกล้ชิดไม่เข้าใจในความเป็นมาเป็นไปของโรค ก็จะหงุดหงิดและไม่อดทนต่อพฤติกรรมของเด็กในกลุ่มโรคนี้ ดังนั้น พ่อแม่จะต้องทำความเข้าใจและมีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ด้วย เพราะจะได้เข้าใจว่า เด็กทำพฤติกรรมอย่างนั้น เพราะอะไร
            แม้ว่าเด็กออทิสติกจะไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้แก่ใคร แต่เด็กจะไม่สามารถอยู่ในสังคมได้ด้วยตัวเอง จะต้องมีคนคอยดูแลตลอดเวลา อาจส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจของคนในครอบครัวได้ เมื่อประสบภาวะตึงเครียดจากการดูแลเด็ก ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะวิตกกังวลหรือซึมเศร้า
            ดังนั้น หากพ่อแม่หรือคนในครอบครัวช่วยให้เด็กได้รับการวินิจฉัยและดูแลช่วยเหลืออย่างเหมาะสมตั้งแต่อายุน้อย และทำความเข้าใจโรคไปพร้อมๆ กัน จะดีต่อการรักษาเด็กและส่งผลดีต่อพ่อแม่และคนในครอบครัวได้มากกว่า
การช่วยเหลือทางด้านการเรียน
        •        ก่อนอื่นพฤติกรรมของพ่อแม่และคนในครอบครัวจะต้องเหมาะสมเสียก่อน เช่น ช่วยกันกระตุ้นให้เด็กสื่อสารด้วยให้ความสนใจเด็กมากขึ้น เช่น ชวนคุยตอนตื่นนอน มองหน้า สบตา หาอะไรมาล่อความสนใจในการสื่อสาร จะต้องมองหน้า สบตากับเด็ก พูดช้าๆ ชัดๆ ทำเสียงให้น่าสนใจ ให้เด็กมองตอบ เด็กจะค่อยๆเรียนรู้พ่อแม่ต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือการเล่นนั้นๆ ด้วยนำคำแนะนำของแพทย์ที่ปรึกษามาปฏิบัติที่บ้านอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
        •          อยู่ในการเรียนที่มีระบบชัดเจน ไม่มีสิ่งเร้าที่มากเกินไป และมีครูการศึกษาพิเศษดูแล
        • มีการวางแผนการเรียนร่วมกันระหว่างพ่อแม่และครูควรจัดกิจกรรมและการเรียนการสอน ช่วงปิดเทอม เพื่อให้เด็กได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเมื่อเด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษา สังคม และจัดการกับปัญหาพฤติกรรมที่รบกวนได้แล้ว สามารถเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติได้ เพื่อพัฒนาความสามารถทางสังคมต่อไปเรียนใน แผนการเรียนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Educational Plan; IEP) และนำกระบวนการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมไปประยุกต์ใช้ร่วมกับการเรียน
        •            หากมีข้อจำกัดด้านพัฒนาการ หรือปัญหาพฤติกรรม ต้องเรียนในกลุ่มพิเศษก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ชั้นเรียนปกติสามารถเรียนร่วมแบบเด็กปกติได้แต่เด็กต้องได้รับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมมาระดับหนึ่งแล้ว
        • เลือกโรงเรียนที่มีความเข้าใจและมีความพร้อมในการดูแลเด็กในกลุ่มโรคนี้
สรุป
          แม้ว่ากลุ่มโรคออทิสติก เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต แต่เด็กอาจจะโตเป็นผู้ใหญ่อยู่ในกลุ่ม 1 ใน 3 ที่สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองได้ และมีโอกาสที่จะอยู่ในกลุ่ม 1 - 2% ของผู้ป่วยโรคนี้ ที่สามารถดำรงชีวิตได้เหมือนคนปกติ แต่จะต้องมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น เด็กมีระดับไอคิวมากกว่า 70 หรือไม่มีภาวะปัญญาอ่อนร่วม เด็กสามารถพูดสื่อสารได้ก่อนอายุ 5 ปี และไม่มีความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น อาการชัก เป็นต้น
         ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เด็กได้รับการวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย ได้รับความเอาใจใส่จากพ่อแม่และครอบครัว ก็จะทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาได้มากกว่าการรักษาเมื่ออายุมากขึ้น


สะท้อนผลการเรียน

       วันนี้เพื่อนออกมานำเสนอเรื่องเด็ดออทิสติก ทำให้เรามีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นว่าเด็กมีลักษณะ
อย่างไร มีอาการอย่างไร ลักษณะที่เด็กเป็นและการดูแลช่วยเหลือให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น 


วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

16 January 2013

Learning 10.
**มอบหมายงาน
สรุปงานวิจัยที่หามาใส่กระดาษA4 ตามหัวข้อนี้ (ส่งภายในวันที่ 19 ก.พ.)*
1.ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย
2.ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
5.นิยามศัพท์เฉพาะ
6.ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
7.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
8.การดำเนินการวิจัย
9.สรุปผลการวิจัย
10.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้



9 January 2013

Learning 9
กิจกรรมวันนี้
1>นำเสนองานกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเด็กพิเศษที่มีความบกพร่อง
     กลุ่มที่ 1 : ภาวะการเรียนบกพร่อง
     กลุ่มที่ 2 : เด็กสมองพิการ
     กลุ่มที่ 3 : สมาธิสั้น
     กลุ่มที่ 4 : ดาวน์ซินโดรม
2>อาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพเพื่อทดสอบไอคิว ด้วยGesell Drawing Test
      วัดไอคิวด้วยวิธีการง่ายๆ ด้วย Gesell Drawing Test 


  วิธีการนะคะ ลองให้ลูกวาดรูปตามที่กำหนดนี้ ซึ่งตรงนี้จะเป็นการวัดความสามารถทางด้านกล้ามเนื้อมือ และการประสานการทำงานระหว่างสายตากับมือตามระดับอายุที่ควรจะเป็นค่ะ

รูปที่ 1 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 2 ปี
รูปที่ 2 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 3 ปี
รูปที่ 3 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 3 ปี ครึ่ง
รูปที่ 4 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 4 ปี
รูปที่ 5 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 5 ปี
รูปที่ 6 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 6 ปี
รูปที่ 7 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 7 ปี
รูปที่ 8 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 8 ปี
รูปที่ 9 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 9 ปี
รูปที่ 9 เป็นความสามารถของเด็กอายุ  10 ปี
รูปที่ 10 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 11 ปี
รูปที่ 11 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 12 ปี

เนื้อหาความรู้
#แนวทางการดูแลรักษา
- หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
- การค้นหาความผิดปกติร่วม
- การรักษาสาเหตุโดยตรง
- การส่งเสริมพัฒนาการ
- ให้คำปรึกษากับครอบครัว
#ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
- ตรวจคัดกรองพัฒนาการ
- การตรวจประเมินพัฒนาการ
- การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
- การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
- การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ
#สะท้อนตนเอง
  : เนื้อหาความรู้ที่เพื่อนๆได้ถ่ายทอดมาในรูปแบบการอธิบายหน้าห้องเรียน ทำให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาให้ทดลองวาดภาพในวันนี้ ก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญสามารถนำไปทดสอบวัดไอคิวของเด็กได้ เนื้อหาความรู้ในวันนี้ก็ทำให้รู้จักแนวทางการดูแลและรักษาเด็กที่มีความต้องการพิเศษทั้งในลำดับขั้นตอนที่ควรดูแลอย่างเหมาะสม