วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

16 January 2013

Learning 10.
**มอบหมายงาน
สรุปงานวิจัยที่หามาใส่กระดาษA4 ตามหัวข้อนี้ (ส่งภายในวันที่ 19 ก.พ.)*
1.ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย
2.ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
5.นิยามศัพท์เฉพาะ
6.ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
7.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
8.การดำเนินการวิจัย
9.สรุปผลการวิจัย
10.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้



9 January 2013

Learning 9
กิจกรรมวันนี้
1>นำเสนองานกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเด็กพิเศษที่มีความบกพร่อง
     กลุ่มที่ 1 : ภาวะการเรียนบกพร่อง
     กลุ่มที่ 2 : เด็กสมองพิการ
     กลุ่มที่ 3 : สมาธิสั้น
     กลุ่มที่ 4 : ดาวน์ซินโดรม
2>อาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพเพื่อทดสอบไอคิว ด้วยGesell Drawing Test
      วัดไอคิวด้วยวิธีการง่ายๆ ด้วย Gesell Drawing Test 


  วิธีการนะคะ ลองให้ลูกวาดรูปตามที่กำหนดนี้ ซึ่งตรงนี้จะเป็นการวัดความสามารถทางด้านกล้ามเนื้อมือ และการประสานการทำงานระหว่างสายตากับมือตามระดับอายุที่ควรจะเป็นค่ะ

รูปที่ 1 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 2 ปี
รูปที่ 2 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 3 ปี
รูปที่ 3 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 3 ปี ครึ่ง
รูปที่ 4 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 4 ปี
รูปที่ 5 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 5 ปี
รูปที่ 6 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 6 ปี
รูปที่ 7 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 7 ปี
รูปที่ 8 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 8 ปี
รูปที่ 9 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 9 ปี
รูปที่ 9 เป็นความสามารถของเด็กอายุ  10 ปี
รูปที่ 10 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 11 ปี
รูปที่ 11 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 12 ปี

เนื้อหาความรู้
#แนวทางการดูแลรักษา
- หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
- การค้นหาความผิดปกติร่วม
- การรักษาสาเหตุโดยตรง
- การส่งเสริมพัฒนาการ
- ให้คำปรึกษากับครอบครัว
#ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
- ตรวจคัดกรองพัฒนาการ
- การตรวจประเมินพัฒนาการ
- การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
- การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
- การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ
#สะท้อนตนเอง
  : เนื้อหาความรู้ที่เพื่อนๆได้ถ่ายทอดมาในรูปแบบการอธิบายหน้าห้องเรียน ทำให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาให้ทดลองวาดภาพในวันนี้ ก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญสามารถนำไปทดสอบวัดไอคิวของเด็กได้ เนื้อหาความรู้ในวันนี้ก็ทำให้รู้จักแนวทางการดูแลและรักษาเด็กที่มีความต้องการพิเศษทั้งในลำดับขั้นตอนที่ควรดูแลอย่างเหมาะสม

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

2 January 2014

Learning 8
**หมายเหตุ
เป็นช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่

วันขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่ปฏิทินปีใหม่เริ่มต้นและนับปีปฏิทินเพิ่มขึ้นหนึ่งปี วันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินเกรโกเรียนที่ใช้กันทั่วโลกปัจจุบัน ตรงกับวันที่ 1 มกราคม
อนึ่ง เทศกาลปีใหม่ อาจหมายถึงวันที่นับจากวันหยุดวันแรกในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคมปีก่อน จนถึงวันหยุดสุดท้ายในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม สำหรับชาวคริสต์จะหยุดตั้งแต่คริสต์มาสไปจนถึงวันขึ้นปีใหม่ รวม 8 วัน

ประวัติ

วันปีใหม่มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนทุก 4 ปี
ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน
เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน
วันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุกปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกพอดี เรียกว่า วสันตวิษุวัต
แต่ในปี พ.ศ. 2125 วสันตวิษุวัติ กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรโกเรียน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

19 November 2013

Learning 7
**หมายเหตุ
เป็นช่วงเวลาของการสอบกลางภาค
ตั้งแต่วันที่ 19 - 26 ธันวาคม 2556



12 December 2013

Learning 6
#พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ#

   พัฒนาการ  หมายถึง 
*การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะส่วนต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล

    *ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
#เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
       - เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน
       - พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน
       - พัฒนาการล่าช้าในด้านใดด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
#ปัจจัยที่ส่งผลทำให้พัฒนาการล่าช้า
       - ปัจจัยด้านชีวภาพ เช่น  ยีนส์  โครโมโซม
       - ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด เช่น การดูแลครรภ์
       - ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด เช่น ขั้นตอนในการทำคลอด
       - ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด เช่น การดูแลเด็ก
#สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
       1 ) โรคทางพันธุกรรม  คือ  เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะเวลาไม่นานหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย  เช่น  โรคผิวเผือก  โรคเท้าแสนปม  
       2 )  โรคของระบบประสาท  คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย อาการที่พบบ่อย คือ  การชัก
       3 )  การติดเชื้อ  คือ มีการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภฺ์  น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย  ศีรษะเล็กกว่าปกติ  อาจมีตับโต  ม้ามโต  การได้ยินบกพร่อง  ต้อกระจก  นอกจากนี้การติดเชื่อรุนแรวภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
       4 )  ความผิดปกติเกี่ยวกับเมทาบอลิซึม โรงคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ  ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
       5 )  ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด  การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย  และภาวะการขาดออกซิเจนในระหว่างคลอด  เช่น รกผันคอเด็ก
       6 )  สารเคมี  
               -สารตะกั่ว เป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด เด็กที่ได้รับสารมากจะส่งผลให้เด็กมีอาการซึมเศร้า  ผิวดำคล้ำเป็นจุดๆ  ภาวะตับเป็นพิษ   เคลื่อนไหวช้า ระดับสติปัญญาต่ำ
               -แอลกฮอล์ ส่งผลให้มีอัตราเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อยมาก ศีรษะเล็ก  พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง  เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์  เรียกว่า  Fetal Alcohol Syndrom (FAS) มีลักษณะ ช่องตาสั้น  ร่องริมฝีปากบนเรียบ ริมฝีปากบนยาวและบาง หนังคลุมหัวตามาก  ปลายจมูกเชิดขึ้น
               -นิโคติน  เด็กน้ำหนักน้อยมากเพราะขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์  เวลาสูบบุหรี่หลอดเลือดจะตีบทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไปเต็มที่  ทำให้สติปัญญาอ่อน  เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก สติปัญญาบกพร่อง  สมาธิสั้ัน  พฤติกรรมก้าวร้าว  มีปัญหาในการเข้าสังคม
          7 )  การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
#อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
               - มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากว่า 1 ด้าน
               - ปฏิกิริยาสะท้อน(Primitive reflex)  ไม่หายไปแม้ถึงช่วงอายุควรจะหาย 
#แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
           1 )  การซักประวัติ  
- โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม
- การเจ็บป่วยในครอบครัว
- ประวัติฝากครรภ์
- ประวัติเกี่ยวกัการคลอด
- พัฒนาการที่ผ่านมา
- การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตนเอง
- ปัญหาพฤติกรรม
- ประวัติอื่นๆ
    เมื่อซักประวัติแล้วจะสามารถบอกได้ว่า
                       - ลักษณะพัฒนาล่าช้าเป็นแบบคงที่  หรือ  ถดถอย
                       - เด็กมีพัฒนาการล่าช้าหรือไม่ อย่างไร ระดับไหน
                       - สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
                       - มีข้อบ่งชี้ว่ามีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
                       - ขณะนี้เด็กได้รับการฟื้นฟูและช่วยเหลืออย่างไร
         2 )  ตรวจร่างกาย 
- ตรวจร่างกายทั่วๆไปและการเจริญเติบโต
- ภาวะตับม้ามโต
- ผิวแห้ง
- ระบบประสาทและวัดรอบศีรษะเสมอ
- ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม(Child abuse)
- ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
          3 )  การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ--->ตรวจพันธุกรรม ยีนส์ และสแกนสมองด้วยเครื่อง TC
          4 )  ประเมินพัฒนาการ  
                       - แบบไม่เป็นทางการ  เช่น  สอบถามพ่อแม่คร่าวๆ
                       - การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ  เช่น  แบบทดสอบ  Denver  II , Gesell Drawing Test , แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด-5ปี ของสถาบันราชานูกูล 
สะท้อนผลการเรียน
      ผลการเรียนรู้วันนี้ทำให้ได้รู้วิฑีการตรวจวินิจฉัยเด็กโดยเป็นขั้นเป็นตอน พัฒนาการต่างๆของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สาเหตุต่างๆ ทำให้รู้วิธีการแก้ไขในขั้นต้นด้วย